Username :
  Password :
   เข้าสู่ระบบถาวร
 
 
 
 
 
 

จำนวนผู้เยี่ยมชมทั้งหมด
2518883 คน

  รมว.คลังแจงเอสเอ็มอี รับมือ4 ปัจจัยเสี่ยงปีเถาะ
  โดย Staff   21 December 2010 08:31 AM
   
 
รมว.คลังชี้ เอสเอ็มอีไทยปีเถาะ ยังเจอศึกหนักรับมือ 4 ปัจจัยเสี่ยง ค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน ค่าแรงปรับเพิ่ม และผลกระทบจากการรวมตัวAEC ส่วนปัญหาการเข้าถึงเงินทุนที่ผ่านมาเอสเอ็มอีแบงก์ทำได้ดี ปีหน้าต้องเดินหน้าต่อ
      
       นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายในงานสัมมนา "เศรษฐกิจไทย ฟ้าใส 2554" ที่เอสเอ็มอีแบงก์จัดขึ้น เนื่องในโอกาสก้าวสู่ ปีที่ 9 เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า ในปีหน้า เอสเอ็มอีจะต้องเตรียมรับมือกับปัจจัยเสียงที่ท้าทาย4 ปัจจัย เพื่อเตรียมการตั้งรับดังนี้ คือ 1.ความผันผวนของค่าเงินบาท 2.ผลกระทบจากความผันผวนราคาน้ำมัน ที่จะส่งผลกระทบในเรื่องต้นทุนการขนส่ง 3.ค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น 4. ปัจจัยระดับมหาภาค ก็คือการรวมตัวของกลุ่ม AEC มีทั้งปัจจัยบวกและลบ ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่ผันผวน เนื่องจากผูกพันกับเงินดอลลาร์
      
       นายกรณ์กล่าวว่า ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่ผ้นผวน เนื่องจากผูกพันกับดอลลาร์ ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออก สามารถปรับตัวได้ มาใช้เงินหยวนแทน ความเสี่ยงที่อาจจะได้รับ ก็จะน้อยกว่า ขณะที่ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ โดย 1-2 ปีที่ผ่านมา เอสเอ็มอีแบงก์ทำได้ค่อนข้างดี เห็นได้จากอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่สูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้า เอสเอ็มอีแบงก์ก็ต้องเดินหน้าต่อในการเป็นหน่วยงานของรัฐต้องเข้าไปสนับสนุน สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยนโยบายหนึ่งที่ต้องทำ ก็คือการเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการตามโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์
      
       สำหรับแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีในปีหน้า นอกจากด้านการปล่อยสินเชื่อตามโครงการต่าง ๆ แล้ว นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ธนาคารยังมุ่งมั่นพัฒนาผู้ประกอบการใน 3 ด้าน คือการยกระดับมาตรฐานสินค้า การช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการธุรกิจ และการเพิ่มโอกาสทางด้านการตลาด เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมั่นคง
      
       โดยในปี 2553 ธนาคารมีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีวงเงินสินเชื่อ 80,000 ล้านบาท มีสัดส่วน NPLs ต่อเงินให้สินเชื่อลดลงเหลือ 23% และมีกำไรสุทธิต่อเนื่องรวม 300 ล้านบาท
      
       "ปี หน้า ธนาคารได้ตั้งเป้าเงินให้ สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท และคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาท และสัดส่วน NPLs จะลดลง 17% และยังคงบทบาทในการเป็นกลไกหนึ่งของการเพิ่ม SMEs GDP และร่วมกับภาครัฐในการสร้างความสมดุล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศ" นายโสฬสกล่าวตอนท้าย
 
ที่มา:ผู้จัดการออนไลท์
   
  จำนวนคนอ่าน 1094 คน
 
ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน  [09/10/2012]
คลังเพิ่มวงเงิน บสย.ค้ำสินเชื่อเอสเอ็มอี 5 แสนลบ.  [04/01/2011]
ส.อ.ท.คาดปี 54 ธุรกิจอ่วมต้นทุนแพง-ค่าแรงสูง เอกชนดิ้นหนีเจ๊ง  [29/12/2010]
กสอ.เสริมแกร่ง SMEs ไทย ใช้พลัง Social Network ลดต้นทุน  [27/12/2010]
Ibank คลอดสินเชื่อพิเศษ อุ้ม SMEs ส่งออก   [22/12/2010]
 




   
 
Copyright